วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรื่องที่คนทั่วไปมักเข้าใจเกี่ยวกับดาราศาสตร์

ไม่แน่ อาจจะเป็นตัวผู้อ่านเองก็ได้ที่เข้าใจผิดอยู่ ลองมาดูกันครับ

1. ฤดูร้อนโลกจะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด

ผิด !
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันมากที่สุด คนส่วนใหญ่เข้าใจกันว่าฤดูร้อนเกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวง อาทิตย์ และฤดูหนาวมีอากาศหนาวเกิดจากการที่โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ จริงอยู่ที่ว่าโลกเรานั้นมีบางช่วงที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ และบางช่วงที่ถอยห่างจากดวงอาทิตย์ เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีเช่นเดียวกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ แต่วงรีนี้เป็นวงรีที่มีความรีน้อยมาก หรือกล่าวได้ว่าเกือบจะเป็นวงกลม ดังนั้นระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ของสองช่วงนี้จึงแตกต่างกันน้อยมากซึ่ง แทบจะไม่มีผลต่ออุณหภูมิเลย ยิ่งกว่านั้น ยังพบว่า ในฤดูหนาวโลกกลับอยู่ใกล้จากดวงอาทิตย์มากกว่าในฤดูร้อนเสียอีก แปลกใหมล่ะ?




แกนของโลกชี้ไปที่จุด ๆ เดียวในขณะที่โคจรรอบโลก ทำให้ซีกใดซีกหนึ่งของโลก
เอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ในฤดูกาลหนึ่ง ๆ

กลไกสำคัญที่ทำให้เกิดฤดูกาลที่แท้จริงคือ ความเอียงของโลก โลกมีแกนเอียง 23.5 องศากับแนวตั้งฉากกับระนาบของระบบสุริยะ ดังนั้นจึงมีบางช่วงที่โลกหันซีกโลกเหนือเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนซีกโลกใต้ก็หันเอียงออกจากดวงอาทิตย์ ช่วงนี้เองที่เป็นฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ เนื่องจากแสงจากดวงอาทิตย์ส่องพื้นผิวโลกในส่วนที่เป็น- ซีกโลกเหนือในปริมาณมากกว่ามุมที่แสงแดดตกกระทบพื้นดินก็เป็นมุมมากกว่า และกลางวันก็ยาวกว่ากลางคืน ยกตัวอย่างเช่นประเทศไทย โลกจะหันประเทศไทยเข้าหาดวงอาทิตย์โดยตรงในช่วงเดือน- มีนาคมจนถึงพฤษภาคม ในขณะที่ทางประเทศออสเตรเลียเป็นช่วงฤดูหนาว เนื่องจากแสงแดดตกกระทบพื้นดินเป็นปริมาณน้อยกว่า และมีช่วงเวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน เมื่อย่างเข้าช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม โลกจะหันด้านใต้เข้าหาดวงอาทิตย์แทน ฤดูกาลก็จะสลับกัน ช่วงนี้จะเป็นฤดูร้อนของทางซีกโลกใต้และเป็นฤดูหนาวของทางซีกโลกเหนือ
คริสต์มาสที่ประเทศออสเตรเลียไม่มีหิมะ ไม่ต้องใส่ชุดหนา ๆ แต่ผู้คนจะไปเที่ยวตามชายหาด ปักต้นคริสต์มาสบนหาดทราย ฉลองคริสต์มาสและเล่นน้ำทะเลตามประสาหน้าร้อน


แกนเอียงของโลกทำให้พื้นที่ในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ได้รับ
ปริมาณแสงแดดไม่เท่ากัน

2. หางของดาวหางเกิดจากการเคลื่อนที่ของดาวหางเอง

ผิด !
ดาวหางเฮล-บอปป์
ดูจากรูปของดาวหางก็ชวนให้คิดว่าเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน เพราะหางของดาวหางดูแล้วเหมือนกับเปลวไฟที่พุ่งจากท้ายของจรวด จึงทำให้ชวนคิดว่าดาวหางพุ่งไปข้างหน้าตามทิศทางที่หัวดาวหางชี้ไป และมักจะพาให้นึกไปอีกว่าเมื่อดาวหางปรากฏ มันคงจะเคลื่อนที่เร็วฉิวจนต้องสะบัดหน้าตาม มักมีคนถามอยู่เสมอ ๆ ว่า "มันวิ่งเร็วไหม?" , "จะดูทันหรือ?"
แท้จริงแล้วหางของดาวหางไม่ได้เกิดจากการเคลื่อนที่ของดาวหาง แต่หางของดาวหางนั้นเกิดจากลมสุริยะซึ่งเป็นกระแสธารของอนุภาคประจุไฟฟ้า พลังงานสูงที่พัดมาจากดวงอาทิตย์ หัวของดาวหางมีองค์ประกอบเป็นน้ำแข็งและฝุ่นเป็นส่วนใหญ่ เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ จะได้รับความร้อนและลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ ทำให้น้ำแข็งในหัวของดาวหางเกิดการระเหิดเป็นก๊าซและพ่นออกมาจากรูเล็กรู น้อยในหัวดาวหาง และน้ำแข็งและฝุ่นก๊าซเหล่านี้ก็จะถูกลมสุริยะพัดออกไปตามทิศทางของลมสุริยะ ดังนั้นเราจึงเห็นว่าหางของดาวหางนั้นจะมีทิศทางชี้ไปทางตรงข้ามกับดวง อาทิตย์เสมอ


หางของดาวหางไม่ลู่ไปตามทิศทางการเคลื่อนที่ แต่ชี้ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์

3. กล้องตัวนี้เห็นได้ไกลกี่กิโลเมตรครับ?

เชยแหลก ! คนที่ถามแบบนี้เรียกว่าเชยที่สุด กล้องโทรทรรศน์ กล้องส่องทางไกลหรือกล้องสองตา ต้องวัดกำลังขยายเป็น "เท่า" เช่น 32 เท่า หมายถึงกล้องตัวนี้จะสามารถดึงภาพให้ใกล้เข้ามา 32 เท่า ซึ่งกล้องจะดึงภาพจากทุกระยะเข้ามา 32 เท่า ๆ กันหมด ต้นไม้อยู่ห่าง 32 เมตรก็จะเห็นในกล้องเหมือนกับอยู่ข้างหน้าแค่ 1 เมตร ภูเขาอยู่ห่าง 32 กิโลเมตร ก็จะดูเหมือนอยู่ใกล้ 1 กิโลเมตรดาวที่อยู่ไกล 320 ปีแสง ก็จะดูใกล้เหมือนกับดาวอยู่ห่าง 10 ปีแสงดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลก 384,000 กิโลเมตร ถ้าเอากล้องตัวนี้มาส่องดู ก็จะเหมือนกับอยู่ใกล้

 

4. องศาเคลวิน

ไม่รู้จัก !
ไม่มีหน่วยนี้ในวิชาวิทยาศาสตร์ อุณหภูมิสัมบูรณ์ของพลังงานความร้อนนั้นมีหน่วยเป็น เคลวิน ไม่ใช่ องศาเคลวิน อุณหภูมิต่ำสุดที่เป็นไปได้คือ 0 เคลวิน หรือ -273 องศาเซลเซียส ดูเหมือนกับคำว่าองศาเคลวินจะถูกนำไปใช้กันอย่างผิด ๆ บ่อยกว่าคำว่าเคลวินเสียอีก ฝรั่งเองก็หลงอยู่บ่อย ๆ

 

5. Astronomy & Astrology

ระวัง !
คำคู่นี้มีผู้เข้าใจผิดนำไปใช้สลับกันอยู่บ่อย ๆ Astronomy คือ ดาราศาสตร์ ส่วนคำว่า Astrology คือโหราศาสตร์

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ต้องมีบางข้อแน่เลย ที่ผู้อ่านยังเข้าใจผิดอยู่ ก็ลองรับข้อมูลที่ถูกต้องไปนะครับ จะได้นำไปบอกลูกหลานได้ถูก



ขอขอบคุณ
สมาคมดาราศาสตร์ไทย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น